กิจกรรม17พฤศจิกายน2553



สืบค้นข้อมูล
ตามการศึกษาแบบจำลองคอมพิวเตอร์ว่าด้วยวัฏจักรดาวฤกษ์ นักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่าดวงอาทิตย์มีอายุประมาณ 4,570 ล้านปี ในขณะนี้ดวงอาทิตย์กำลังอยู่ในลำดับหลัก ทำการหลอมไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียม โดยทุกๆ วินาที มวลสารของดวงอาทิตย์มากกว่า 4 ล้านตันถูกเปลี่ยนเป็นพลังงาน ดวงอาทิตย์ใช้เวลาโดยประมาณ 1 หมื่นล้านปีในการดำรงอยู่ในลำดับหลัก
เมื่อไฮโดรเจนซึ่งเป็นเชื้อเพลิงของดวงอาทิตย์หมดลง วาระสุดท้ายของดวงอาทิตย์ก็มาถึง (คือการพ้นไปจากลำดับหลัก) โดยดวงอาทิตย์จะเริ่มพบกับจุดจบคือการแปรเปลี่ยนไปเป็นดาวยักษ์แดงภายใน 4-5 พันล้านปี ผิวนอกของดวงอาทิตย์ขยายตัวออกไป ส่วนแกนนั้นยุบตัวลงและร้อนขึ้นสลับกับเย็นลง มีการหลอมฮีเลียมเป็นคาร์บอนและออกซิเจนที่อุณหภูมิราว 100 ล้านเคลวิน จากสถานการณ์ข้างต้นดูเหมือนว่าดวงอาทิตย์จะกลืนกินโลกให้หลอมลงไปเป็นเนื้อเดียวกัน แต่จากรายงานวิจัยฉบับหนึ่งได้ศึกษาพบว่าวงโคจรของโลกจะตีตัวออกห่างดวงอาทิตย์เพราะมวลของดวงอาทิตย์ได้สูญเสียไป จนแรงดึงดูระหว่างมวลมีค่าลดลง แต่ถึงกระนั้น น้ำทะเลก็ถูกความร้อนจากดวงอาทิตย์เผาผลาญจนระเหยสิ้นไปในอวกาศ และบรรยากาศโลกก็อันตรธานไปจนไม่เอื้อแก่ชีวิต

หลังจากที่ดวงอาทิตย์ได้ผ่านสภาพการเป็นดาวยักษ์แดงแล้ว อุณหภูมิจากปฏิกิริยาการหลอมฮีเลียมที่เพิ่มสลับกับลงภายในแกน ก็จะเป็นตัวการให้ผิวดวงอาทิตย์ด้านนอกผละตัวออกจากแกน เกิดเป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ แล้วอันตรธานไปในความมืดมิดของอวกาศ และเป็นวัสดุสำหรับสร้างดาวฤกษ์และระบบสุริยะรุ่นถัดไป ส่วนแกนที่เหลืออยู่ก็จะกลายเป็นดาวแคระขาวที่ร้อนจัดและมีแสงจางมาก ก่อนจะดับลงกลายเป็นดาวแคระดำ จากทั้งหมดที่กล่าวมานี้คือชีวิตของดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อยถึงปานกลาง

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%8C

ตอบ ข้อ 2
 สืบค้นข้อมูล
องค์ประกอบของดวงอาทิตย์           ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด และเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญที่สุดของโลก ดวงอาทิตย์มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.4 ล้านกิโลเมตร อยู่ห่างจากโลก 150 ล้านกิโลเมตร มีองค์ประกอบเป็นไฮโดรเจน 74% ฮีเลียม 25% และธาตุชนิดอื่น 1% โครงสร้างของดวงอาทิตย์แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

           • แก่นปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (Nuclear burning core) มีขนาดประมาณ 25% ของรัศมี  เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบฟิวชัน เผาไหม้ไฮโดรเจนให้เป็นกลายเป็นฮีเลียม มวลบางส่วนได้เปลี่ยนเป็นพลังงาน มีอุณหภูมิสูงถึง 15 ล้านเคลวิน
           • โซนการแผ่รังสี (Radiative zone) อยู่ที่ระยะ 25-70% ของรัศมี พลังงานที่เกิดขึ้นจากแก่นปฏิกรณ์นิวเคลียร์ถูกนำขึ้นสู่ชั้นบนโดยการแผ่รังสีด้วยอนุภาคโฟตอน
           • โซนการพาความร้อน (Convection zone) อยู่ที่ระยะ 70-100% ของรัศมี  พลังงานจากภายในถูกพาออกสู่พื้นผิว ด้วยการหมุนวนของก๊าซร้อน
                     



ตอบข้อ.2
ตอบ2ดาวศุกร์
 สืบค้นข้อมูล
สืบค้นข้อมูล
ความสว่างของดาวฤกษ์
             ความสว่างของดาวฤกษ์บอกได้จากตัวเลขที่ไม่มีหน่วยที่เรียกว่า อันดับความสว่าง หรือ แมกนิจูด ( Magnitude ) ของดาวที่มีอันดับความสว่างต่างกัน 1 จะสว่าสงมากกว่ากัน 2 เท่าครึ่ง ดดยอันดับความสว่างทีีเป็นบวกหรือตัวเลขมาก ๆ จะมีความสว่างน้อย ๆ เช่นดาวที่มีอันดับความสว่าง - 1 จะมีความสว่างมากกว่าดาวฤกษ์ที่มีความสว่าง 1


สีของดาว
อุณหภูมิ( องศาเคลวิน )
ตัวอย่างดาวฤกษ์
ขาวอมน้ำเงิน/น้ำเงิน
25,000 -35,000
สไปกา,ไรเจล,เรกิวลุส,อะเคอร์นาร์,บีตา เซนเทารี
ขาว
7,500 - 11,000
วีกา,ซีรีอุส,ฟอร์มาลโอท์,แอลแทร์,เดเนป
เหลืองขาว
6,000 - 7,500
คาโนปัส,โปรซิออน,โพลารีส
เหลือง
5,000 - 6,000
ดวงอาทิตย์,คาเพลลา
ส้ม
3,500 - 5,000
อาร์คตุรุส,พอลลักซ์,อัลดิบาแรน
แดง
3,000 - 3,500
แอนแทรีส,บีเทลจุส


ที่มา : http://www.sopon.ac.th/science/unchalee-v/page%2003%20sec%2001.htm

ตอบข้อ 4. ดาว D มีอัตราความสว่าง -2
 สืบค้นข้อมูล
ปีแสง คือ หน่วยของระยะทางในทางดาราศาสตร์ 1 ปีแสง เท่ากับระยะทางที่แสงเดินทางในเวลา 1 ปี จากอัตราเร็วแสงที่มีค่า 299,792.458 กิโลเมตร/วินาที ระยะทาง 1 ปีแสงจึงมีค่าประมาณ 9.4607×1012 กิโลเมตร = 63,241.077 หน่วยดาราศาสตร์ = 0.30660 พาร์เซก เนื่องจากเอกภพมีขนาดมหึมา แสงจากวัตถุท้องฟ้าที่อยู่ไกลจึงใช้เวลาหลายปีกว่าจะเดินทางมาถึงเรา นั่นหมายความว่าเราเห็นอดีตของวัตถุนั้นอยู่ตลอดเวลา
ปีแสงใช้เพื่อวัดระยะทางระหว่างดาราจักร และไม่ใช่หน่วยวัดเวลา หนึ่งปีแสงมีค่าที่แน่นอนโดยใช้ตัวเลขปีจูเลียน (365.25 วัน) มาคำนวณซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล[1] คือ 9,460,730,472,580.8 กิโลเมตร
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87
ตอบข้อ 1. ระยะทางที่แสงใช้เวลาเดินทาง 1 ปี




 สืบค้นข้อมูล
วิวัฒนาการของดาวฤกษ์
ดาวฤกษ์ทุกดวงเกิดจากการยุบตัวของเนบิวลา การที่เนบิวลายุบตัวเนื่องมาจากแรงโน้มถ่วงของเนบิวลา เอง ทำให้ความดันและอุณหภูมิภายในเนบิวลาสูงมาก โดยเฉพาะบริเวณแก่นกลางที่ยุบตัวจะมีอุณหภูมิสูงกว่า ที่ขอบนอก สูงเป็นหลายแสนองศาเซลเซียส เรียกการยุบตัวของเนบิวลาช่วงนี้ว่า ดาวฤกษ์ก่อนเกิด (pro- tostar)
แรงโน้มถ่วงจะทำให้เนบิวลาเกิดการยุบตัวลงไปอีก ความดันของแก่นกลางจะสูงขึ้น อุณหภูมิจะสูงถึง 15 ล้านเคลวิน สูงมากพอที่จะเกิดปฏิกิริยาเทอร์มอนิวเคลียร์ เกิดพลังงานมหาศาล เมื่อเกิดความสมดุลระหว่าง แรงโน้มถ่วงกับแรงดันของแก๊สร้อนภายในเนบิวลา จะทำให้เกิดดาวฤกษ์อย่างสมบูรณ์ พลังงานของดาวฤกษ์ เกิดจากปฏิกิริยาเทอร์มอนิวเคลียร์ เนื่องจากแก่นกลางของดาวฤกษ์มีความดันและอุณหภูมิสูงมาก ทำให้นิวเคลียสของธาตุไฮโดรเจน (โปรตอน) 4 นิวเคลียส หลอมรวมตัวกันเป็นนิวเคลียสของธาตุฮีเลียม 1 นิวเคลียส มวลส่วนหนึ่งหายไป มวลที่หายไปนี้จะเปลี่ยนเป็นพลังงานจำนวนมหาศาล ตามทฤษฎีสัมพันธภาพของไอน์สไตน์ คือ
E = mc2
เมื่อ E คือ พลังงาน
m คือ มวลที่หายไป
c คือ อัตราเร็วของแสงในอวกาศ = 33105 กิโลเมตร/วินาที
เมื่อเวลาผ่านไปปริมาณของแก๊สไฮโดรเจนในดาวฤกษ์จะลดลง แรงโน้มถ่วงเนื่องจากมวลของดาวฤกษ์จะมีค่าสูงกว่าแรงดันของแก๊สร้อน ทำให้ดาวฤกษ์ยุบตัวลง แก่นกลางของดาวฤกษ์จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นถึง 100 ล้านเคลวิน เกิดปฏิกิริยาเทอร์มอนิวเคลียร์ นิวเคลียสของธาตุฮีเลียมหลอมรวมตัวกันเป็นนิวเคลียสชองธาตุคาร์บอนไฮโดรเจนที่อยู่รอบนอกของแก่นฮีเลียมจะมีอุณหภูมิสูงตามถึง 15 ล้านเคลวิน จนเกิดปฏิกิริยาเทอร์- มอนิวเคลียร์ของไฮโดรเจนใหม่ เกิดพลังงานมหาศาล ดาวฤกษ์จึงเกิดการขยายตัวมีขนาดใหญ่กว่าเดิมมาก อุณหภูมิผิวด้านนอกจะลดลงกลายเป็นสีแดงที่เรียกว่า ดาวยักษ์แดง (red giant) ในช่วงนี้พลังงานจะถูกปล่อยออกมาจากดาวฤกษ์มาก ช่วงขีวิตของดาวยักษ์แดงจึงค่อนข้างสั้น
เนื่องจากดาวฤกษ์แต่ละดวงมีมวลต่างกัน จึงมีวิวัฒนาการและจุดจบที่ต่างกัน จุดจบของดาวฤกษ์ แบ่งได้ 2 แบบตามมวลของดาวฤกษ์ คือ
1. ดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อยมีแสงสว่างไม่มาก จึงใช้เชื้อเพลิงในอัตราน้อย ทำให้มีช่วงชีวิตยาวและไม่เกิดการระเบิด ในช่วงที่เป็นดาวยักษ์แดงแก่นกลางไม่เกิดปฏิกิริยาเทอร์มอนิวเคลียร์ แรงโน้มถ่วงจะมากกว่าแรงดัน จึงยุบตัวกลายเป็นดาวแคระขาว (white dwarf) ความสว่างจะลดลง อุณหภูมิภายในจะลดลงต่ำมากจนไม่เกิดปฏิกิริยาเทอร์มอนิวเคลียร์ จึงไม่เกิดการส่องแสง และกลายเป็นดาวแคระดำ (black dwarf) ในที่สุด ส่วนรอบนอกแก่นกลางของดาวยักษ์แดงไม่เกิดการยุบตัว แต่จะขยายตัวกระจายเป็นชั้นของแก๊สหุ้มอยู่รอบ เรียกว่า เนบิวลาดาวเคราะห์ (planetary nebula)
2. ดาวฤกษ์ที่มีมวลมากและมีขนาดใหญ่ มีความสว่างมาก จึงใช้พลังงานในอัตราที่สูงมาก ทำให้มีช่วงชีวิตสั้น และจบชีวิตด้วยการระเบิดอย่างรุนแรงที่เรียกว่า ซูเปอร์โนวา (supernova) แรงโน้มถ่วงจะทำให้ดาวฤกษ์ยุบตัว ดาวฤกษ์ที่มีมวลมากจะยุบตัวกลายเป็นดาวนิวตรอน ส่วนดาวฤกษ์ที่มีมวลสูงมากๆ จะยุบตัวกลายเป็นหลุมดำ แรงสะท้อนที่เกิดทำให้ภายนอกของดาวฤกษ์ระเบิดเกิดธาตุหนัก เช่น ยูเรเนียม ทองคำ เป็นต้น สาดกระจายสู่อวกาศกลายเป็นส่วนประกอบของเนบิวลารุ่นใหม่
ดาวฤกษ์ที่มีกำเนิดมาจากเนบิวลารุ่นใหม่จึงมีธาตุต่างๆ เป็นองค์ประกอบ ในขณะที่ดาวฤกษ์ที่เกิดจากเนบิวลาดั้งเดิมมีธาตุไฮโดรเจนและธาตุฮีเลียมเป็นองค์ประกอบ
ที่มา : http://www.maceducation.com/e-knowledge/2502201100/13.htm
ตอบข้อ 2. การระเบิดซูเปอร์โนวา
 สืบค้นข้อมูล
สีของดาวฤกษ์นอกจากจะบอกอุณหภูมิของดาวฤกษ์แล้ว ยังสามารถบอกอายุของดาวฤกษ์ด้วย ดาวฤกษ์ที่มีอายุน้อยจะมีอุณหภูมิที่ผิวสูงและมีสีน้ำเงิน ส่วนดาวฤกษ์ที่มีอายุมากใกล้ถึงจุดสุดท้ายของชีวิตจะมีสีแดงที่ เรียกว่า ดาวยักษ์แดง มีอุณหภูมิผิวต่ำ ดาวฤกษ์แต่ละดวงจะมีสิ่งที่เหมือนกัน คือ องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ธาตุไฮโดรเจน และธาตุฮีเลียม พลังงานของดาวฤกษ์ทุกดวงเกิดจากปฏิกิริยาเทอร์มอนิวเคลียร์ที่แก่นกลาง ของดาว แต่สิ่งที่ต่างกันของดาวฤกษ์ ได้แก่ มวล อุณหภูมิผิว ขนาด อายุ ระยะห่างจากโลก สี ความสว่าง ธาตุที่เป็นองค์ประกอบ และวิวัฒนาการที่ต่างกัน
ที่มา : http://www.maceducation.com/e-knowledge/2502201100/13.htm
ตอบข้อ 2. มีแสงสีแดง


 สืบค้นข้อมูล
การคำนวนของความสว่างของดาว
เริ่มจาก ความสว่างกัน 100 เท่า แมกนิจูดต่างกัน 5 เท่า


แมกนิจูดต่างกัน 1 ความสว่างต่างกัน 2.5 เท่า


แมกนิจูดต่างกัน 2 ความสว่างต่างกัน 2.5 ยกกำลัง2 = 6.25


5 5 = 100






magnitude m=-2.5 logf


ถ้า ความสว่างมาก f มีค่ามาก m ก็จะติดลบและมีค่ามาก


ผลต่างแมกนิจูด = -2.5 ความสว่างต่างกันกี่เท่า


-3.5--1.5 = 2.5 ยกกำลัง 2 = 6.25


ที่มา : http://www.vcharkarn.com/vcafe/117334
ตอบข้อ 3. 6.25


ตอบ 2. พม่า
คำอธิบาย 


ส่วน รอยเลื่อน ที่น่าจับมอง คือรอยเลื่อนสะแกง หรือสะเกียงในประเทศพม่า เพราะรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ เป็นรอยเลื่อนแขนงของลอยเลื่อนสะแกง เพราะมีเขื่อนศรีนครินทร์ตั้งอยู่ โดยในปี 2526 เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.9 ริกเตอร์ เหนือเขื่อนศรีนครินทร์ประมาณ 60 กม.แต่ไม่ได้ส่งผลเสีย และสร้างความเสียหายกับเขื่อน ดังนั้น ควรต้องมีแผนป้องกันภัย แผนเตือนภัย แผนอพยพ และแผนจัดการ เมื่อเกิดภัยพิบัติ นอกจากนี้ ยังรวมถึงรอยเลื่อนในภาคเหนือของไทยด้วย ส่วนรอยเลื่อนขนาดใหญ่นอกประเทศนอกจากรอยเลื่อนสะแกงแล้ว ยังมีรอยเลื่อนแม่น้ำแดง ในประเทศเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ถือว่าประเทศไทยโชคดีที่บรรพบุรุษเลือกพื้นที่ที่มีความเสี่ยงเกิดแผ่นดิน ไหวค่อนข้างต่ำ
สำหรับรอย เลื่อนในประเทศไทยที่มีพลังอยู่มี 13 กลุ่ม ประกอบด้วย รอยเลื่อนแม่จันและแม่อิง ครอบคลุมจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน ครอบคลุมแม่ฮ่องสอน และตาก รอยเลื่อนเมย ครอบคลุมตากและกำแพงเพชร รอยเลื่อนแม่ทา ครอบคลุม เชียงใหม่, ลำพูน และเชียงราย รอยเลื่อนเถิน ครอบคลุมลำปาง และแพร่ รอยเลื่อนพะเยา ครอบคลุมลำปาง, เชียงราย และพะเยา รอยเลื่อนปัว ครอบคลุมน่าน รอยเลื่อนอุตรดิตถ์ ครอบคลุมอุตรดิตถ์ รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ครอบคลุมกาญจนบุรีและราชบุรี รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ ครอบคลุมกาญจนบุรีและอุทัยธานี รอยเลื่อนท่าแขก ครอบคลุมหนองคายและนครพนม รอยเลื่อนระนอง ครอบคลุมประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร, ระนอง, และพังงา รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ครอบคลุมสุราษฎร์ธานี, กระบี่ และพังงา
ที่มา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=38529






ตอบ 1.ตะวันตกของแอฟริกา กับ ตะวันออกของอเมริกาใต้
 สืบค้นข้อมูล
ทวีปต่างๆในโลก

ทวีป หมายถึง แผ่นดินขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันบนพื้นโลก การแบ่งทวีปในโลกไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน โดยทั่วไปทวีปต้องเป็นพื้นกว้างใหญ่ ไม่รวมพื้นที่ที่จมอยู่ใต้น้ำ และมีเขตแดนเด่นชัดทางภูมิศาสตร์ แม้ว่าบางคนเชื่อว่าในโลกมีทวีปอยู่ 4-5 ทวีป แต่ส่วนใหญ่จะนับได้ 6-7 ทวีป

การแบ่งทวีปที่ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดการขัดแย้งกันอยู่ 2 กรณีใหญ่ๆ คือ ทวีปยุโรปกับเอเชียควรแยกกันหรือรวมกันเป็นทวีปยูเรเชีย (Eurasia) และทวีปอเมริกาเหนือกับทวีปอเมริกาใต้ควรแยกกันหรือรวมกันเป็นทวีปอเมริกา

นักภูมิศาสตร์บางท่าน (ส่วนน้อย) คิดว่าควรรวมยุโรป เอเชีย และแอฟริกา เป็นทวีปยูราเฟรเชีย (Eurafrasia) (ดู ทวีปแอฟริกา-ยูเรเชีย)

โรงเรียน ในสหรัฐอเมริกาสอนว่ามี 7 ทวีป ขณะที่อเมริกาเหนือสอนว่ามี 6 ทวีป (รวมยุโรปกับเอเชียเป็นยูเรเชีย) ยุโรป อเมริกาใต้ รวมทั้งสหราชอาณาจักรและเม็กซิโก สอนว่ามี 5 ทวีป (รวมอเมริกาเหนือกับอเมริกาใต้เป็นทวีปอเมริกา ไม่มีทวีปแอนตาร์กติกา)

ใน กีฬาโอลิมปิกแยกโลกเป็น 5 ทวีป (ตามสัญลักษณ์ห่วง 5 วง) ตามทวีปที่มีคนอาศัยอยู่ถาวร (ไม่รวมทวีปแอนตาร์กติกาที่มีคนอยู่ชั่วคราว และควบรวมอเมริกาเหนือกับอเมริกาใต้เป็นทวีปอเมริกา)

เราอาจรวมทวีปเป็น มหาทวีป (supercontinent) หรือแบ่งย่อยเป็น อนุทวีป (subcontinent) ก็ได้ แต่ก็ไม่มีนิยามที่แน่นอนชัดเจนเช่นกัน

ส่วน เกาะต่างๆ โดยปกติจะกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของทวีปที่อยู่ใกล้เกาะนั้นที่สุด ดังนั้นหมู่เกาะบริติช (British Isles) จึงเป็นส่วนหนึ่งของยุโรป บางครั้งจะพบว่ามีการใช้คำว่า โอเชียเนีย (Oceania) โดยหมายถึงประเทศออสเตรเลียและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก รวมทั้งประเทศนิวซีแลนด์. บางครั้งก็กำหนดให้ออสเตรเลีย (อาจรวมถึงนิวซีแลนด์) เป็นทวีปทวีปหนึ่ง โดยหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกไม่ได้อยู่ในทวีปใดๆ เลย

ในอังกฤษ คำว่า "the Continent" มักหมายถึงทวีปยุโรป โดยไม่รวมบริเตนใหญ่กับไอร์แลนด์ เช่นเดียวกัน คำว่า "the Subcontinent" มักหมายถึง ประเทศอินเดีย


ระบบต่างๆ ของการแบ่งทวีป
7 ทวีป : แอฟริกา แอนตาร์กติกา เอเชีย ยุโรป อเมริกาเหนือ ออสเตรเลีย และอเมริกาใต้
6 ทวีป : แอฟริกา แอนตาร์กติกา โอเชียเนีย ยูเรเชีย อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้
6 ทวีป : แอฟริกา อเมริกา แอนตาร์กติกา เอเชีย โอเชียเนีย และยุโรป
5 ทวีป : แอฟริกา อเมริกา โอเชียเนีย แอนตาร์กติกา และยูเรเชีย
5 ทวีป : แอฟริกา อเมริกา โอเชียเนีย ยุโรป และเอเชีย
4 ทวีป : อเมริกา โอเชียเนีย แอนตาร์กติกา และแอฟริกา-ยูเรเชีย


  ตอบ 1.ประเทศไทยมีแผ่นดินไหวขนาดที่รู้สึกได้โดยเฉลี่ยแล้ว 1 ครั้งทุกๆ 5 ปี
สืบค้นข้อมูล
1. รอยเลื่อนเชียงแสน
รอยเลื่อนนี้วางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบนสุดของประเทศ มีความยาวประมาณ 130 กิโลเมตร โดยเริ่มต้นจากแนวร่องน้ำแม่จันไปทางทิศตะวันออก ผ่านอำเภอแม่จัน แล้วตัดข้ามด้านใต้ของอำเภอเชียงแสนไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามแนวลำ น้ำเงิน ทางด้านเหนือของอำเภอเชียงของ แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดที่วัดได้ตามแนวรอยเลื่อนนี้ เกิดเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2521 มี ขนาด 4.9 ริคเตอร์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2521 มีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่กว่า 3 ริคเตอร์ เกิดตามแนว รอยเลื่อนนี้ 10 ครั้ง และ 3 ครั้งมีขนาดใหญ่กว่า 4.5 ริคเตอร์ แผ่นดินไหวทั้งหมดเป็นแผ่นดินไหว ที่เกิดในระดับตื้นกว่า 10 กิโลเมตร

2. รอยเลื่อนแพร่

รอยเลื่อนนี้อยู่ทางด้านตะวันออกของแอ่งแพร่ และวางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเริ่มต้นจากด้านตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอ เด่นชัย ผ่านไปทางด้านตะวันออกของอำเภอสูงเม่น และจังหวัดแพร่ ไปจนถึงด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอร้องกวาง รวมความยาวทั้งสิ้นประมาณ 115 กิโลเมตร มีแผ่นดินไหวขนาด 3-4 ริคเตอร์ เกิดตามแนวรอยเลื่อนนี้กว่า 20 ครั้ง ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ส่วนแผ่น ดินไหวขนาด 3 ริคเตอร์ ซึ่งเกิดเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2533 ที่ผ่านมา เกิดตามแนวรอยเลื่อน ซึ่งแยกจากรอยเลื่อนแพร่ไปทางทิศเหนือ

3. รอยเลื่อนแม่ทา


รอยเลื่อนนี้มีแนวเป็นรูปโค้งตามแนวลำน้ำแม่วอง และแนวลำน้ำแม่ทาในเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 55 กิโลเมตร จากการศึกษาของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (2523) พบว่า ในช่วงระยะเวลา 6 เดือนของการศึกษาในปี พ.ศ. 2521 มีแผ่นดินไหวขนาดเล็กเกิด ในระดับตื้นอยู่มากมายในบริเวณรอยเลื่อนนี้

4. รอยเลื่อนเถิน

รอยเลื่อนเถินอยู่ทางทิศตะตกของรอยเลื่อนแพร่ โดยตั้งต้นจากด้านตะวันตกของอำเภอเถินไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ขนานกับรอยเลื่อนแพร่ไปทางด้านเหนือ ของอำเภอเถินไปทางตะวันออกเฉียงเหนือขนานกับรอยเลื่อนแพร่ ไปทางด้านเหนือของอำเภอวังชื้น และอำเภอลอง รวมความยาวทั้งหมดประมาณ 90 กิโลเมตร เคยมีรายงานการเกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.7 ริคเตอร์ บนรอยเลื่อนนี้ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2521

5. รอยเลื่อนเมย-อุทัยธานี


รอยเลื่อนนี้วางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ ตั้งต้นจากลำน้ำเมยชายเขตแดนพม่ามาต่อกับห้วยแม่ท้อ และลำน้ำปิงใต้จังหวัดตาก ต่อลงมาผ่านจังหวัดกำแพงเพชร และนครสวรรค์ จนถึงเขตจังหวัดอุทัยธานี รวมความยาวทั้งสิ้นกว่า 250 กิโลเมตร มีรายงานแผ่นดินไหวเกิดตามรอยเลื่อนนี้ 2 ครั้ง คือ เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2476 ที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2518 ที่ อำเภอ ท่าสองยาง จังหวัดตาก แผ่นดินไหวครั้งหลังนี้มีขนาด 5.6 ริคเตอร์

6. รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์


รอยเลื่อนนี้อยู่ทางด้านตะวันตก ของรอยเลื่อนเมย-อุทัยธานี โดยมีทิศทางเกือบขนานกับแนวของรอยเลื่อน อยู่ในร่องน้ำแม่กลองและแควใหญ่ ตลอดขึ้นไปจนถึงเขตแดนพม่า รวมความยาวทั้งหมดกว่า 500 กิโลเมตร ในช่วงระยะเวลา 10 ปี ที่ผ่านมามีรายงานแผ่นดินไหวขนาดเล็กหลายร้อยครั้ง ตามแนวรอยเลื่อนนี้ แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดที่วัดได้ในระหว่างนี้ เกิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2526 มีขนาด 5.9 ริคเตอร์

7. รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์

รอยเลื่อนนี้อยู่ในลำน้ำแควน้อยตลอดสาย และต่อไปจนถึงรอยเลื่อนสะแกง (Sakaing Fault) ในประเทศพม่า ความยาวของรอยเลื่อนช่วงที่อยู่ในประเทศไทยยาวกว่า 250 กิโลเมตร มีรายงานแผ่นดินไหวจากรอยเลื่อนนี้มากมายหลายพันครั้ง

8. รอยเลื่อนระนอง

รอยเลื่อนระนองวางตัวตามแนวร่องน้ำของแม่น้ำกระบุรี มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 270 กิโลเมตร มีรายงานแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2521 มีขนาด 5.6 ริคเตอร์

9. รอยเลื่อนคลองมะรุย

รอยเลื่อนนี้ตัดผ่านด้านตะวันออกของเกาะภูเก็ต เข้าไปในอ่าวพังงา และตามแนวคลองมะรุย คลองชะอุน และคลองพุมดวงทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จนกระทั่งไปออกอ่าวบ้านดอน ระหว่างอำเภอพุนพินกับอำเภอท่าฉาง รวมความยาวทั้งสิ้นประมาณ 150 กิโลเมตร แผ่นดินไหวตามแนวรอยเลื่อนนี้ มีรายงาน เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2476 ที่จังหวัดพังงา และทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ นอกฝั่งภูเก็ต เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2519, วันที่ 17 สิงหาคม 2542 และวันที่ 29 สิงหาคม 2542        
  

ที่มา http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=32

สืบค้นข้อมูล
สืบค้นข้อมูล 

ภูเขาเป็นธรณีสัณฐานลักษณะหนึ่งบนพื้นผิวโลกที่เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ ที่สำคัญแหล่งหนึ่ง ส่วนภูเขาไฟเป็นภูเขาที่สามารถพ่นสารละลายร้อนและเถ้าถ่านตลอดจนเศษหินจาก ภายในโลกออกสู่พื้นผิวโลกได้ ภูเขาไฟมีทั้งชนิดที่ดับแล้วและที่มีพลังอยู่ ภูเขาไฟที่ดับแล้วเป็นภูเขาไฟที่เกิดขึ้นมานานมากและวัตถุที่พ่นออกมาแข็ง ตัวกลายเป็นหินภูเขาไฟบนพื้นโลก ภูเขาจำนวนมากและเทือกเขาที่สำคัญของโลกหลายแห่งในปัจจุบันเป็นภูเขาไฟที่ ดับแล้ว ส่วนภูเขาไฟที่มีพลังเป็นภูเขาไฟที่มีการระเบิดค่อนข้างถี่และอาจจะระเบิด อีก จากการสำรวจพบว่าในปัจจุบันยังคงมีภูเขาไฟที่มีพลังประมาณ 1,300 ลูก
ที่มา : http://www.krugoo.net/archives/386



ตอบ 4  ดาวฤกษ์ทุกดาวจะมีตำแหน่งใกล้เคียงกัน
สืบค้นข้อมูล
กลุ่มดาวนายพราน หรือ โอไรอัน (อังกฤษ: Orion) เป็นกลุ่มดาวที่มีชื่อเสียง คนไทยเรียกว่า ดาวเต่าดาวฤกษ์สว่างหลายดวงเป็นสมาชิก และมีตำแหน่งอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตรฟ้า ทำให้มองเห็นได้ทั่วโลก และอาจเป็นที่รู้จักกว้างขวางที่สุดในบรรดากลุ่มดาวบนท้องฟ้า[1] ดาวสามดวงที่ประกอบกันเป็น "เข็มขัดของนายพราน" เป็นดาวที่มีความสว่างปานกลางแต่ก็สามารถสังเกตเห็นได้ง่าย สำหรับผู้สังเกตการณ์ที่อยู่ในซีกโลกเหนือจะสามารถมองเห็นกลุ่มดาวนี้ได้ ตั้งแต่ช่วงเย็นของเดือนตุลาคมไปจนถึงเดือนมกราคม จากนั้นจะสามารถเห็นได้ในช่วงเช้ามืดตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมถึงพฤศจิกายน[2][3] การที่มี
ตำแหน่งของกลุ่มดาวนายพรานเทียบกับกลุ่มดาวข้างเคียงสามารถจินตนาการออก มาเป็นภาพได้ดังนี้ : นายพรานโอไรอันยืนอยู่ข้างแม่น้ำเอริดานัส มีหมาล่าเนื้อสองตัวอยู่เคียงข้างคือ คานิสใหญ่และคานิสเล็ก เขากำลังสู้กับวัวเทารัส โดยมีเหยื่ออื่นอยู่ข้างๆ อีกเช่น ลีปัสกระต่ายป่า
กลุ่มดาวนายพรานมีดาวไรเจลเป็นดาวสว่างที่สุด แต่ดาวที่มีชื่อเสียงคือดาวบีเทลจุส ดาวยักษ์แดงซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งในสามดวงของดาวสามเหลี่ยมฤดูหนาว (คือดาวบีเทลจุส ดาวซิริอุส และดาวโปรซิออน) เราสามารถใช้กลุ่มดาวนายพรานสำหรับการชี้ดาวต่างๆ ได้มากมาย เช่น ลากจากดาวอัลนิลัม ไป ดาวเมสสา จะชี้ตรงทิศเหนือ ใต้กลุ่มดาวนายพรานเป็นกลุ่มดาวกระต่ายป่า ดาวไรเจลอยู่ติดกับกลุ่มดาวแม่น้ำที่มีดาวอะเคอร์น่าเป็น ดาวเด่น (ไม่ได้อยู่ติดกัน) เข็มขัดนายพรานชี้ไปที่ดาวตาวัว (อัลดิบารัน) และถ้าลากจากไรเจลผ่านบีเทลจุสจะได้ดาวคาสเตอร์ เป็นต้น


ที่มา    http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%99




 ตอบ 2. มีมวลประมาณ 50 % ของมวของระบบสุริยะ
สืบค้นข้อมูล
           ดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์ที่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะของเรา ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย และดาวหาง ล้วนแล้วแต่โคจรรอบดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่สำคัญยิ่งต่อโลก เช่น ให้พลังงานแก่พืชในรูปของแสง และพืชก็เปลี่ยนแสงให้เป็นพลังงานในการตรึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็น น้ำตาล ตลอดจนทำให้โลกมีสภาวะอากาศหลากหลาย เอื้อต่อการดำรงชีวิต
ดวงอาทิตย์ประกอบด้วยไฮโดรเจนอยู่ร้อยละ 74 โดยมวล ฮีเลียมร้อยละ 25 โดยมวล และธาตุอื่นๆ ในปริมาณเล็กน้อย ดวงอาทิตย์จัดอยู่ในสเปกตรัม G2V ซึ่ง G2 หมายความว่าดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 5,780 เคลวิน (ประมาณ 5,515 องศาเซลเซียส หรือ 9,940 องศาฟาเรนไฮ) ดวงอาทิตย์จึงมีสีขาว แต่เห็นบนโลกเป็นสีเหลือง เนื่องจากการกระเจิงของแสง ส่วน V (เลข 5) บ่งบอกว่าดวงอาทิตย์อยู่ในลำดับหลัก ผลิตพลังงานโดยการหลอมไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียม และอยู่ในสภาพสมดุล ไม่ยุบตัวหรือขยายตัว

   
ที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%8C




  ตอบ 2. ขึ้น 15 ค่ำ
สืบค้นข้อมูล


สุริยุปราคา หรือเรียกว่า  "สุริยคราส " เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อโลก  ดวงจันทร์  และดวงอาทิตย์โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน  โดยมีดวงจันทร์อยู่ระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก  เงาของดวงจันทร์จะทอดยาวมายังโลก  ทำให้คนบนโลก(บริเวณที่มีเงาของดวงจันทร์)  มองเห็นดวงอาทิตย์เว้าแหว่ง  หรือบางแห่งเห็นดวงอาทิตย์มืดหมดทั้งดวง  ช่วงเวลาที่เกิดสุริยุปราคาจะกินเวลาไม่นานนัก  เช่น  เมื่อวันที่  24  เดือนตุลาคม  พ.ศ.  2538  ประเทศไทยสามารถมองเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงได้นาน  3  ชั่วโมง  นับตั้งแต่ดวงจันทร์เริ่มเคลื่อนเข้าจนเคลื่อนออก   
สุริยุปราคา จะเกิดขึ้นเฉพาะในเวลากลางวันและตรงกับวันแรม 15 ค่ำ หรือวันขึ้น 1 ค่ำ เท่านั้น  ตำแหน่งบนพื้นโลกที่อยู่ในเขตใต้เงามืดของดวงจันทร์จะมองเห็นดวงอาทิตย์มืด มิดทั้งดวงเรียกว่า "สุริยุปราคาเต็มดวง" ท้องฟ้าจะมืดไปชั่วขณะ  ในขณะที่ตำแหน่งบนพื้นโลกที่อยู่ภายใต้เขตเงามัวจะมองเห็นดวงอาทิตย์ถูกบัง ไปบางส่วนเรียกว่า"สุริยุปราคาบางส่วน"   สำหรับการเกิดสุริยุปราคาในช่วงที่ดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกมากกว่าปกติ ทำให้เงามืดของดวงจันท์ทอดตัวไปไม่ถึงพื้นโลก  แต่ถ้าต่อขอบของเงามืดออกไปจนสัมผัสกับพื้นผิวโลกจะเกิดเป็นเขตเงามัวขึ้น  ตำแหน่งที่อยู่ภายใต้เขตเงามัวนี้จะมองเห็นสุริยุปราคาวงแหวนดวงจันทร์มี ขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์มาก  แต่ที่เรามองเห็นดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ได้มิด  ก็เพราะดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากกว่าดวงอาทิตย์
ที่มา   http://school.obec.go.th/msp/dara7.htm





  ตอบ 3. อยู่ในวงโคครค้างฟ้า
สืบค้นข้อมูล

สถานี อวกาศนานาชาติ เป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างชาติ 16 ประเทศได้แก่  สหรัฐอเมริกา รัสเซีย บราซิล ญี่ปุ่น แคนาดา เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมันนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สเปน สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ และ สหราชอาณาจักร โดยใช้เที่ยวบินทั้งสิ้น 44 เที่ยวบิน เพื่อที่จะนำชิ้นส่วนแต่ละชิ้น ของสถานีอวกาศ ไปประกอบกันเป็น สถานีอวกาศนานาชาติ ซึ่งประกอบด้วย ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ที่ใหญ่ที่สุดในอวกาศ เท่าที่มนุษย์เคยมีมา
หลัก การของการนำชิ้นส่วนแต่ละชิ้น ไปประกอบกัน เป็นสถานีอวกาศขนาดใหญ่นี้ ประเทศรัสเซียเป็นผู้บุกเบิก และมีประสบการณ์ด้านนี้ มากที่สุด โดยเฉพาะการขึ้นไปอาศัยอยู่ ในสถานีอวกาศ เป็นระยะเวลานาน ประเทศรัสเซีย มีประสบการณืด้านนี้ กว่า 30 ปีแล้ว โดยเฉพาะกับโครงการ สถานีอวกาศเมียร์ (Mir's Space Station)
โครงการ สถานีอวกาศนานาชาตินี้ เริ่มส่งชิ้นส่วนแรก ตั้งแต่ช่วงปลายปี พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) และคาดว่า จะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2549 (ค.ศ.2006) ซึ่งเมื่อเสร็จแล้ว จะมีขนาดยาวประมาณ 88 เมตร (290 ฟุต) และความกว้างส่วนปีกประมาณ 109 เมตร (356 ฟุต) ซึ่งใหญ่กว่าสนามฟุตบอลเล็กน้อย โดยมีน้ำหนักรวม เกือบ 473 ตัน (ประมาณ 1 ล้านปอนด์) โดยมีนักบินอวกาศ และเจ้าหน้าที่ประจำ 7 คน โคจรรอบโลกด้วยความสูงเกือบ 400 กิโลเมตร ใช้เวลาโคจรรอบโลกประมาณ 92 นาที 24 วินาทีต่อรอบ โดยที่ 2 ใน 3 ของแต่ละรอบ จะอยู่ด้านสว่าง ขณะที่อีก 1 ใน 3 ของรอบ จะอยู่ด้านมืด
ที่มา  http://www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=184&Itemid=31
 

 ตอบ 3.เพื่อใช้ในสถานีอวกาศ
สืบค้นข้อมูล

             กระสวยอวกาศ (อังกฤษ: space shuttle) คือ เครื่องบินอวกาศ ทะยานขึ้นเหมือนจรวดและไปโคจรรอบโลก มีปีกและตอนกลับสู่โลกจะร่อนลงตามรันเวย์ กระสวยอวกาศสามารถนำมาใช้ได้หลาย ๆ ครั้ง
กระสวยอวกาศของสหรัฐอเมริกา สร้างขึ้นโดยองค์การยากูซ่า (NASA) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Space Transportation System (STS) ผลิตโดยบริษัท North American Aviation ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Rockwell International.
สำหรับกระสวยอวกาศของสหภาพโซเวียต มีชื่อว่า บูราน (Buran - Бура́н แปลว่า พายุหิมะ) ปัจจุบันล้มเลิกโครงการไปแล้ว ตั้งแต่ ค.ศ. 1993 ในสมัยประธานาธิบดีโบริส เยลท์ซิน เนื่องจากมีต้นทุนสูง และประเทศกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ หลังจากปฏิบัติการเพียงหนึ่งครั้ง ใช้เวลาในอวกาศเพียง 3 ชั่วโมง
กระสวยอวกาศถูกออกแบบมาให้ใช้งานซ้ำได้ 100 ครั้ง หรือปฏิบัติการได้ 10 ปี โครงการถูกเริ่มขึ้นในท้ายยุค 60 หลังจากนั้นก็มีบทบาทสำคัญในปฏิบัติการที่ต้องใช้คนเข้าร่วมของนาซามาโดย ตลอด
ส่วนสำคัญของกระสวยอวกาศ เรียกว่า ออร์บิเตอร์ (orbiter หมายถึง ยานโคจร) จะพาลูกเรือและสัมภาระไปยังอวกาศในขณะที่จะส่งกระสวยอวกาศขึ้นไป กระสวยจะอยู่ที่ฐานส่งโดยจะตั้งชี้ขึ้นไปคล้ายจรวด ข้าง ๆ ออร์บิเตอร์จะมีแทงค์น้ำมันขนาดใหญ่ ซึ่งเรียกว่า แทงค์ด้านนอก (External Tank) ซึ่งมันจะเก็บออกซิเจนและไฮโดรเจนในขณะที่มันขึ้นเชื้อเพลิงเหล่านี้จะถูก สูบเข้าไปยังเครื่องยนต์หลัก 3 เครื่อง ของออร์บิเตอร์
นอกจากนี้ยังมีแทงค์ขนาดเล็กที่อยู่ข้าง ๆ ออร์บิเตอร์บนฐานส่งเพื่อให้แรงผลักดันพิเศษในขณะส่งกระสวยขึ้น ซึ่งเรียกว่า Solid Fuel Rocket Booster หรือ SRB ทำงานคล้ายกับจรวดดอกไม้ไฟขนาดใหญ่
เมื่อกระสวยอวกาศทะยานขึ้น หลังจากนั้นประมาณ 2 นาที เชื้อเพลิงในแทงค์เชื้อเพลิง SRB ก็หมด และตกลงในทะเลกับร่มชูชีพ อัตราความเร็วของกระสวยค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนถึงความเร็วประมาณ 72 ไมล์ จากนั้นเครื่องยนต์หลักก็หยุด และถังเชื้อเพลิงภายนอกซึ่งว่างเปล่าก็ตกลงทะเลเครื่องยนต์ของจรวดสองลำก็ รับภาระต่อไป ซึ่งเรียกว่า ระบบการยักย้ายการโคจร ในระหว่างการโคจร
เมื่อถึงเวลากลับสู่โลก เครื่องยนต์ระบบการยักย้ายการโคจรจะถูกยิงคล้ายกับตอนล่างของจรวด และมันก็จะออกจากการโคจรของมัน จะกลับลงมาสู่บรรยากาศโลกในอัตราความเร็ว 15,900 ไมล์ต่อชั่วโมง (หรือประมาณ 25,700 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) แผ่นกำบังความร้อนข้างใต้กระสวยอวกาศจะเปล่งแสงสีแดงจัดพร้อมกับความร้อนใน การกลับเข้ามาสู่โลก แผ่นกระเบื้องพิเศษบนกระสวยอวกาศจะป้องกันลูกเรือและยานอวกาศออร์บิเตอร์จะ ช้าลงเมื่อเข้ามาถึงบริเวณส่วนล่างของบรรยากาศ จะร่อนลงบนพื้นดินบนรันเวย์ด้วยความเร็วประมาณ 210 ไมล์แล้วหยุดการบินของกระสวยอวกาศก็จบลง
แต่เดิมกระสวยอวกาศถูกสร้างขึ้นมา 4 ลำ คือ แอตแลนติส (Atlantis) , ชาเลนเจอร์ (Challenger) , โคลัมเบีย (Columbia) และดิสคัฟเวรี (Discovery)
วันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1986 กระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ประสบอุบัติเหตุขณะบินขึ้น ภายหลังจึงมีการสร้างกระสวยอวกาศเอนเดฟเวอร์ (Endeavour) ขึ้นมาทดแทน
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003 กระสวยอวกาศโคลัมเบียประสบอุบัติเหตุขณะกลับมายังโลก ปัจจุบันจึงมีกระสวยอวกาศใช้งานอยู่ 3 ลำ คือ แอตแลนติส, เอนเดฟเวอร์ และดิสคัฟเวรี


ที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8

 สืบค้นข้อมูล ระบบสุริยะจักรวาล
ระบบสุริยะ ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่นๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ เช่น ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และดาวบริวาร โลกเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 3 โดยทั่วไป ถ้า
ให้ถูกต้องที่สุดควรเรียกว่า ระบบดาวเคราะห์ เมื่อกล่าวถึงระบบที่มีวัตถุต่างๆ โคจรรอบดาวฤกษ์
ดาวศุกร์ (Venus) 
สังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยสามารถมองเห็นได้ทางขอบฟ้าด้านทิศตะวันตกในเวลาใกล้ค่ำ เราเรียกว่า "ดาวประจำเมือง" (Evening Star) ส่วนช่วงเช้ามืดปรากฏให้เห็นทางขอบฟ้าด้านทิศตะวันออกเรียกว่า "ดาวรุ่ง" (Morning Star) เรามักสังเกตเห็นดาวศุกร์มีแสงส่องสว่างมากเนื่องจาก ดาวศุกร์มีชั้นบรรยากาศที่ประกอบไปด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีผลทำให้อุณหภูมิพื้นผิวสูงขึ้น ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเองจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก ไม่มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวาร
ดาวศุกร์เคลื่อนรอบดวงอาทิตย์รอบละ 225 วัน 1 ปี
มีคำกล่าวว่าดาวศุกร์เป็น "ดาวน้องสาวของโลก" เนื่องจากดาวศุกร์มีลักษณะทางกายภาพหลายประการคล้ายคลึงกับโลกของเรามาก กล่าวคือ ขนาดและมวลของดาวศุกร์น้อยกว่าโลกเพียงเล็กน้อย อีกทั้งดาวศุกร์ยังเป็นดาวเคราะห์ที่มีวงโคจรอยู่ใกล้โลกมากที่สุด โดยที่จุดที่อยู่ใกล้ที่สุดจะอยู่ห่างไปเพียง 40 ล้านกิโลเมตร นอกจากนี้พื้นผิวของดาวศุกร์มีภูเขาไฟระเบิด และมีการเปลี่ยนแปลงของเปลือกดาวอยู่จนถึงปัจจุบันเช่นเดียวกับโลก ต่างจากดาวเคราะห์แข็งดวงอื่นๆ ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาในระดับผิวดาวมาเป็นเวลานานแล้ว
ดาวพฤหัสบดี

เป็น ดาวเคราะห์ก๊าซ (Jovian Planet) ขนาดยักษ์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ออกไปเป็นระยะทางประมาณ 5.2 หน่วยดาราศาสตร์ ห่างไกลกว่าวงโคจรของดาวอังคารกว่า 3 เท่า ที่ระยะห่างนี้ พลังงานจากดวงอาทิตย์แผ่มาถึงน้อยลง ก๊าซและสสารที่ระเหยง่ายจึงเริ่มรวมตัวขึ้นได้ ดาวพฤหัสบดีมีปริมาตรที่สามารถบรรจุโลกไว้ได้กว่า 1,300 ดวง และมีมวลกว่าสองเท่าของดาวเคราะห์อื่นๆในระบบสุริยะรวมกัน
ดาวเสาร์

เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ออกมาเป็นอันดับที่ 6 ที่ระยะทางประมาณ 10 เท่าของระยะระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ หรือ 2 เท่าของขนาดวงโคจรของดาวพฤหัสบดี ที่ระยะนี้ พลังงานจากดวงอาทิตย์แผ่มาถึงเพียง 1.1% ของพลังงานที่แผ่มาถึงโลกเท่านั้น หากสังเกตดาวเสาร์ด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก เราจะได้เห็นวงแหวนของดาวเสาร์ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักดูดาวว่าเป็นวงแหวนที่สวยงามและโดดเด่นที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ที่มีวงแหวนทุกดวง
ดาวเนปจูน

โคจรห่างจากดวงอาทิตย์เฉลี่ย 4,500 ล้านกิโลเมตร หรือประมาณ 30 เท่าของระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์ เวลา 1 ปีของดาวเนปจูนหรือระยะเวลาที่ดาวเนปจูนใช้ในการโคจรรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบยาวถึง 165 ปีของโลก นั่นคือตั้งแต่เรารู้จักดาวเนปจูนในปี
ค.ศ.1848 ดาวเนปจูนยังโคจรรอบดวงอาทิตย์ไม่ครบหนึ่งรอบเสียด้วยซ้ำ ที่ระยะห่างนี้แม้แต่แสงจากดวงอาทิตย์ก็ยังต้องใช้เวลากว่า 4 ชั่วโมง จึงจะเดินทางถึงดาวเนปจูน (ในขณะที่ใช้เวลาเพียง 8 นาที 20 วินาที ในการเดินทางมาถึงโลก)

3 ความคิดเห็น: